วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

โคลเบิร์ก



ชื่อทฤษฏี พัฒนาการ Kohlberg
  • ทฤษฎีการพัฒนาการของ Kohlberg ( Moral Development Thoery )
        ลอเรนซ์ โคห์ลเบิร์ก นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ผู้มีแนวคิดเช่นเดียวกับเพียเจต์ คือ สนใจพฤติกรรมภายใน หรือความรู้ความเข้าใจของบุคคลที่แสดงพฤติกรรมต่างๆแต่เน้นศึกษาไปที่การตัดสินใจจริยธรรม คือ เรื่องความดีหรือไม่ดีของพฤติกรรม
  •  หลักพัฒนาการตามแนวคิดทฤษฎีนั้นเป็นอย่างไร   
       โคห์ลเบิร์ก เห็นว่า เหตุผลที่คนหนึ่งๆมีการกระทำต่อพฤติกรรมของเขาแต่ละอย่าง เป็นเครื่องชี้ระดับ จริยธรรม ของเขาว่าสูงหรือต่ำ ซึ่งเด็กอายุน้อยๆมักมีระดับจริยธรรมต่ำกว่าบุคคลอายุมากๆ แต่อายุก็มิใช่เกณฑ์กำหนดระดับจริยธรรม เพราะเหตุผลที่บุคคลยกขึ้นมาอ้างนั้นมีความสำคัญต่อการแสดงพฤติกรรมมากกว่าขั้นพัฒนาการทางจริยธรรม โคห์ลเบิร์กได้แบ่งไว้ 3 ระดับ ดังนี้
  1. ระดับก่อนกฎเกณฑ์ อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 2-10 ปี ผู้ที่อยู่ในระดับนี้ยังไม่เข้าใจกฎเกณฑ์ของสังคม แต่จะรับกฎเกณฑ์และข้อกำหนดว่าดีหรือไม่จากผู้มีความรู้เหนือตน เช่น พ่อ แม่ ครู จริยธรรมในระดับนี้คือการหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษและการคิดถึงผลตอบแทนที่จะได้รับเหตุผลเชิงจริยธรรม
  2. ระดับตามกฎเกณฑ์ อยู่ในช่วงอายุ 10-16 ปี ผู้ที่อยู่ในระดับนี้ส่วนใหญ่สามารถที่จะปฏิบัติตาม กฎเกณฑ์ของสังคม เพราะรู้ว่าเป็นกฎระเบียบที่จะต้องปฏิบัติตาม
  3. ระดับเหนือกฎเกณฑ์ อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 16 ปีขึ้นไป ระดับนี้มักเป็นบุคคลที่อายุมากและมีวุฒิภาวะด้านต่างๆสูง
  • การนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้
       ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคห์ลเบิร์ก ทำให้ผู้สอนรู้ว่าเด็กเล็กมีการตอบสนองข้อขัดแย้งในเรื่องจริยธรรม แตกต่างจากเด็กโต ซึ่งในการจัดการเรียนรู้นั้นผู้สอนควรกระตุ้นให้เด็กได้สื่อแนวคิดนั้นๆออกมาโดยสร้างบรรยากาศที่สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนอภิปรายได้อย่างอิสระ และใช้สถานการณ์ตัวอย่างหรือเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในห้องเรียนมากระตุ้นให้ผู้เรียนตระหนักถึงการมีจริยธรรม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น